วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แผนที่น้ำท่วมจาก MIKE11 โดยใช้ DEM และ HelpGrid

ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอการสร้างแผนที่น้ำท่วมในแบบจำลอง MIKE11 โดยใช้เพียงข้อมูลหน้าตัดลำน้ำ
ซึ่งก็มีข้อจำกัดบางอย่างเนื่องจากตัวแบบจำลองเองและวิธีการในการสร้างแผนที่น้ำท่วม

ในที่นี้จะได้นำเสอนวิธีการสร้างแผนที่น้ำท่วมอีกแบบในแบบจำลอง MIKE11 เหมือนกัน
ซึ่งต้องการข้อมูลเพิ่มคือ ข้อมูล DEM หรือค่าระดับของพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ศึกษา
หลังจากมีข้อมูลและแบบจำลอง MIKE11 พร้อมแล้ว ก็ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

เตรียมข้อมูล HelpGrid โดยจะใช้ DEM ของพื้นที่ศึกษาเป็นต้นแบบ
แล้วทำการแก้ไข HelpGrid ให้เป็นกลุ่มของพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งในตัวอย่างนี้ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังรูป

(รูป HelpGrid)

แต่ละกลุ่มพื้นที่น้ำท่วม จะมีระหัสเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม ในที่นี้ใช้เลข 1, 3 และ 4
ซึ่งระหัสที่ตั้งไว้ใน HelpGrid จะถูกจับคู่กับ Cross-section ID ในไฟล์ *.xns11 ซึ่งเป็นไฟล์ข้อมูลหน้าตัดลำน้ำ

(รูป หน้าตัดลำน้ำ และ ID)

จากนั้นในไฟล์ *.HD11 จะต้องตั้งค่าให้การสร้างแผนที่ใช้ข้อมูลจาก HelpGrid และเลือกใช้ค่าระดับจาก DEM

(รูป การตั้งค่าการสร้างแผนที่ใน *.HD11)

โดยในการใช้ HelpGrid ในการสร้างแผนที่น้ำท่วมนี้ จะเป็นการบอกให้แบบจำลอง นำระดับน้ำ จากหน้าตัดลำน้ำที่เราจับคู่กับระหัสของ HelpGrid มาวาดเป็นแผนที่น้ำท่วมบนพื้นที่ของ HelpGrid ที่ระหัสนั้นๆ

(VDO แผนที่น้ำท่วม ที่ได้จากการใช้ HelpGrid)

วิธีการสร้างแผนที่น้ำท่วมแบบนี้ จะใกล้เคียงกับแผนที่น้ำท่วมจากการใช้ MIKE11GIS ในแบบจำลองของ DHI เวอร์ชั่นที่เก่ากว่าปี 2005 (หลังปี 2005 ทาง DHI ได้ยกเลิกการสร้างแผนที่น้ำท่วมด้วย MIKE11GIS )



(VDO แผนที่น้ำท่วม ที่ได้จากการใช้ MIKE11GIS)


ข้างล่างนี้ อัพเดทเพิ่มเติมเมื่อ 2013-10-10 เพื่อขยายความเรื่องการเตรียมไฟล์ HelpGrid
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv

ให้เปิดไฟล์ DEM ของพื้นที่ศึกษาขึ้นมา ดังรูป


จากนั้นให้ Save as ไปเป็นชื่อ HelpGrid (หรือแล้วแต่เราจะตั้งชื่อว่าอะไร)
จากนั้นตรวจสอบค่า Delete value โดยเลือกเมนู Edit/Item


ตัวอย่างนี้จะเห็นค่า Delete Value เป็น -1E-35
จากนั้นใช้เครื่องมือในเมนู Tool ช่วยในการแก้ไขค่า


ในกรณีที่ยังไม่ได้เลือก เซลใดๆ สามารถใช้ Tool/Set Value... แล้วใส่ค่าเท่ากับ -1E-35 ได้เลย
จะทำให้ทุกค่าในตารางถูกลบทิ้งไป

หลังจากนั้น ให้แก้ไขค่าใน Cells ต่างๆเป็นกลุ่มตัวเลขที่จะเชื่อมกับหน้าตัดลำน้ำ
ในตัวอย่างนี้ แบ่งเป็น 3 พื้นที่ ดังนั้นจึงกำหนดตัวเลขเป็น 1, 2, และ 3 เท่านั้น
โดยการเลือกพื้นที่ สามารถใช้เครื่องมือแบบ Area Selection ในการเลือกพื้นที่ได้


เมื่อเลือกพื้นที่แล้ว ส่วนที่ถูกเลือก จะเป็นพื้นที่แรเงา


จากนั้นใช้เมนู Tool/Set Value ใส่ค่าให้กับ Cells ที่เลือกไว้ (รูปด้านล่าง ใช้ Tool/Set Value แล้วใส่ค่า 1)


ทำเช่นนี้กับพื้นที่อื่นๆที่ต้องการเชื่อมกับ Cross-Section จนได้ครบแล้วจะได้ไฟล์ดังรูป


สำหรับตัวช่วยให้การเลือกพื้นที่ ทำงานง่ายขึ้น เราสามารถซ้อนรูปพื้นหลังเข้าไปได้โดย
เมนู Data Overlay/Add / Remove Layers


ก็สามารถซ้อนรูปที่เป็นรูปภาพ หรือไฟล์ SHP เข้ามาเป็นรุปพื้นหลัง เพื่อให้การเลือกพื้นที่ ทำงานได้ง่ายขึ้นได้

นอกจากนี้ ข้อมูลใน ตาราง ข้างต้นทั้งหมด เราสามารถ Copy & Paste ไปมาระหว่าง MIKEZero กับ Excel ได้ ดังนั้น หากถนัดใช้ Excel ในการเตรียมข้อมูล ก็สามารถทำได้เช่นกัน


2 ความคิดเห็น:

  1. รบกวนถามหน่อยครับตอนแรกผมรันแบบ ไม่ได้ใช้ Helpgrid สามารถ สร้างแผนที่น้ำท่วมออกมาได้
    แต่พอผมใช้ Helpgrid โปรแกรมไม่สามารถรันได้ครับ ขึ้นหน้าต่าง MIKE 11 ENGINE มีข้อความระบุว่า
    Out of memory ครับ หน้าต่างนี้เด้งขึ้นมาตอนที่โปรแกรมกำลัง รัน Map initialisation (24966 Kb) ครับ
    ไม่ทราบว่า มีสาเหตุ และทางแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. เกิดจากการตั้งค่า resolution สูงเกินไป ลองเพิ่มขนาดกริด ลดจำนวนกริดดูนะครับ ของแผนที่ดูนะครับ

    ตอบลบ