วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

งานสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ Mathematical Modeling for Real World Water Management


เป็นการจัดงานสัมมนาร่วมกันระหว่าง DHI และศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
การประชุมสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ Mathematical Modeling for Real World Water Management  ณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมสัมมนาและผู้ที่สนใจรายละเอียดในงานสัมมนา ทางคณะจัดงานได้รวบรวมเอกสารในงานสัมมนาเท่าที่ได้รับอนุญาติจากผู้บรรยายในงาน นำมาเผยแพร่ดังต่อไปนี้

  1. รายละเอียดการจัดงานสัมมนา
  2. แบบจำลอง DHI ในภาพรวม
  3. แบบจำลองทางชลศาสตร์2 มิติสำหรับงานวิศวกรรมชายฝั่ง และแผนที่น้ำท่วม รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆของแบบจำลอง
  4. แบบจำลองรุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย
  5. แนวทางปฏิบัติการที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์วิกฤติน้ำแล้งและน้ำหลาก
  6. การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย (ติดต่อดร. ภาณุวัตน์ ปิ่นทอง โดยตรง เพื่อขอรับเอกสาร)
  7. การวางแผนเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงานพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมและยั่งยืน (ติดต่อคุณ บุญจง จรัสดำรงนิตย์ โดยตรง เพื่อขอรับเอกสาร)
  8. แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554
  9. การประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาคลื่นสึนามิบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย
  10. การนำเสนอผลจากโครงการพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์การไหลในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติภายใต้โครงการพัฒนาการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การไหลของน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาผ่านเว็บไซด์


ส่วนต่อไปเป็นรูปภาพต่างๆจากงานสัมมนาครั้งนี้

 
พิธีกรดำเนินการประชุมโดย นางสาว วราภรณ์ บูรณะอัตม์


ดร. ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือขึ้นกล่าวรายงาน ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ


คณบดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล กล่าวเปิด และปาฐกถาพิเศษ


ดร. สมชาย ชนวัฒนาผู้เชี่ยวชาญการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ชลพลศาสตร์ของน้ำทั้งแบบ 1 มิติ และ 2 มิติ บรรยายในหัวข้อ “แบบจำลอง DHI ในภาพรวม”


Mr. Niels Hvam ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านชลศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ชายฝั่ง และแม่น้ำ บรรยายในหัวข้อ “แบบจำลองทางชลศาสตร์ 2 มิติ สำหรับงานวิศวกรรมชายฝั่ง และแผนที่น้ำท่วม รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆของแบบจำลอง”


Mr. Torben Strang Jensen ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจแบบจำลองด้านแหล่งน้ำของ DHI และเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงาน DHI ประจำประเทศไทย บรรยายในหัวข้อ “แบบจำลองรุ่นใหม่ล่าสุด สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย”


คุณบุญทรง ปีตานนท์ชัย วิศวกรระดับ 11  ฝ่ายสำรวจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บรรยายในหัวข้อ “แนวทางปฏิบัติการที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์วิกฤติน้ำแล้งและน้ำหลาก”


ดร. ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน (CWEIR) และอาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ บรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย”


คุณ บุญจง จรัสดำรงนิตย์ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ บรรยายในหัวข้อ “การวางแผนเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงานพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมและยั่งยืน”


คุณ สนั่น ศิริอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมและการออกแบบโครงสร้าง บรรยายในหัวข้อ “แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554”


คุณกิตติพงษ์ ธนาศิริยะกุล ผู้จัดการฝ่ายท่าเรือและทางทะเล บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด บรรยายในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาคลื่นสึนามิบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย”


คุณสถิตย์ จันทร์ทิพย์ ผู้ช่วยนักวิจัยฝ่ายสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) บรรยายในหัวข้อ “การนำเสนอผลจากโครงการพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์การไหลในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติภายใต้โครงการพัฒนาการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การไหลของน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผ่านเว็บไซด์”


ภาพหมู่ผู้เข้าร่วมสัมมนาบางส่วนในวันที่ 27 มิถุนายน 2556


บรรยากาศการลงทะเบียน


ภาพรวมในห้องบรรยายวันที่ 27 มิย. 2556


มอบของที่ระลึกแสดงความขอบคุณผู้มาบรรยาย (รูปบางส่วน) 


ภาพรวมบรรยากาศในห้องฝึกอบรม แบบจำลอง MIKE HYDRO BASIN ในวันที่ 28 มิย. 2556


ภาพรวมบรรยากาศในห้องฝึกอบรม แบบจำลอง MIKE 21 ในวันที่ 28 มิย. 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น